วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์(โสตทัศนูปกรณ์)

                สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์หรือที่เรียกว่าโสตทัศนูปกรณ์ (audio –visual equipments ) มีหน้าที่หลัก คือการฉายเนื้อหาทั้งที่เป็นภาพและตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่ ขยายเสียงให้ดัง เพื่อให้ผู้เรียนรับรู้และเรียนรู้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ปัจจุบันอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้พัฒนาไปมากมีรูปลักษณะเล็กน้ำหนักเบา แต่สามารถใช้งานได้หลายมิติ เช่น ต่อพ่วงกับอุปกรณ์อื่นได้หลายทาง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการและอ้านวยความสะดวกในการรับรู้ของมนุษย์ ดังนั้นการน้าอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
ความหมายของโสตทัศนูปกรณ์
                โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึงอุปกรณ์ที่มีลักษณะใหญ่ ประกอบด้วย เครื่องยนต์ กลไกลไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ ทำหน้าที่เป็นตัวผ่านขยายเนื้อหาสาระจากแหล่งกำเนิดให้ชัดเจนยิ่งขึ้นสามารถกระตุ้นการรับรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

                โสตทัศนูปกรณ์ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Audio-Visual Equipments และมาจากคำประสมดังนี้
โสตะ (การได้ยิน)    +    ทัศนะ (การมองเห็น)    +    อุปกรณ์
                                   Audio                              Visual

ประเภทของสื่ออุปกรณ์

                สามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ
                1.เครื่องฉาย (Projectors)
                2.เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (connected Equipment)
                2.เครื่องเสียง (Amplifiers)
เครื่องฉาย
เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ และเครื่องเสียงเครื่องฉายเครื่องฉาย เป็นอุปกรณ์ฉายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ผู้เรียนมองเห็นภาพหรือเนื้อหาได้ชัดเจนจากจอรับภาพ เครื่องฉายที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ (overhead projector)  เครื่องฉายภาพยนตร์  เครื่องฉายแอลซีดี (LCD projector) เครื่องฉายสไลด์ (slide projector) นอกจากนี้ยังมีเครื่องต่อพ่วงกับเครื่องฉายที่สามารถฉายภาพได้หลายรูปแบบ เช่น เครื่องวิชวลไลเซอร์ (visualizer) เป็นต้น
เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ
            เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ หน้าที่ของเครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ในการอ่านข้อมูลจากวัสดุและแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อแปลงกลับเป็นสัญญาณและเสียง
เครื่องเสียง
1.  แหล่งกำเนิดเสียง
เสียง (Sound) เกิดจาการสั่นสะเทือนของวัตถุ พลังงานการสั่นสะเทือนจะจัดอากาศให้เป็นคลื่นออกไปโดยรอบ เรียกว่า คลื่นเสียง (Sound Wave) เมื่อคลื่นเสียงไปกระทบแก้วหูก้จะทำให้แก้วหูสั่นสะเทือน
      เสียงที่เราได้ยินอยู่ในชีวิตประจำวันมาจากแหล่งกำเนิดต่างๆ เช่น เสียงคน สัตว์ การสั่นสะเทือนของวัตถุ เสียงจากธรรมชาติ เป็นต้น
2. ส่วนประกอบของการขยายเสียง
การขยายเสียงเป็นการแก้ไขข้อจำกัดของเสียงจากต้นกำเนิดเสียงที่มีเสียงเบาไม่สามารถรับฟังได้ในระยะไกล โดยใช้เครื่องมือไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นเสียงไฟฟ้าความถี่ แล้วขยายให้มีกำลังมากขึ้นหลายๆเท่า หรือบันทึกเก็บไว้ เพื่อนำมาแปลงให้กลับเป็นคลื่นเสียงทีหลังอีกก็ได้ เครื่องมือที่ทำ หน้าที่ดังกล่าวเรียกว่า เครื่องเสียง เช่น เครื่องขยายเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง และเครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง  เป็นต้น
        

สรุป

   สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์หรือโสตทัศนูปกรณ์ มีหน้าที่หลักคือ ใช้เนื้อหาที่เป็นภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และขยายเสียงให้ดังขึ้น จำแนกออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ และเครื่องเสียง
                เครื่องฉายที่ใช้ในวงการศึกษา ปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายแอลซีดี เครื่องฉายดีวีดี เป็นต้น ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องฉายได้แก่ หลอดฉาย แผ่นสะท้อนแสง วัสดุฉาย เลนส์ และจอ
                เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณเป็นเครื่องที่ไม่สามารถใช้งานได้ด้วยตนเอง ต้องต่อพ่วงเข้ากับอุปกรณ์เครื่องฉายหรือเครื่องขยายเสียง เช่น เครื่องวิชวลไลเซอร์ เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องเล่นวีซีดี และเครื่องเล่นดีวีดี เป็นต้น
                เครื่องเสียงมีหน้าที่รับเสียง ขยายเสียง และส่งออก ส่วนประกอบของการขยายเสียงที่สำคัญประกอบด้วย ภาคสัญญาณเข้า ได้แก่ ไมโครโฟน ภาคขยายเสียง ได้แก่ เครื่องขยายเสียง ภาคสัญญาณออก ได้แก่ ลำโพง